อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
Your success is our goal
ความสำเร็จของคุณคือเป้าหมายของเรา
ความสำเร็จของคุณคือเป้าหมายของเรา
Your success is our goal

NU Fountain Team X NU Science Park

เชื่อมโยงเครือข่ายภาครัฐ - ภาคเอกชน เชื่อมโยงเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน ผนึกกำลัง มุ่งเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการภาคเหนือตอนล่างอย่างยั่งยืน

  วันที่ 26 มกราคม 2567 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดกิจกรรม NU SciPark Dinner Talk 2024 เพื่อพบปะหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน พร้อมหารือแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน ณ ห้องคอนเวนชั่น 2 โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก

  บรรยากาศภายในงานเป็นไปด้วยความอบอุ่น มีการโชว์เคสผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ได้รับความสนใจจากภาคเอกชนเป็นอย่างมาก

  จากนั้นเริ่มงานด้วย รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มากล่าวต้อนรับ พร้อมเล่าถึง มหาวิทยาลัยนเรศวร กับการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ รวมถึง ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ฉายภาพให้เห็นถึงระบบนิเวศทางธุรกิจของประเทศต่อบริบทในการพัฒนาธุรกิจของภาคเอกชน และปิดท้ายด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มาเล่าถึง บทบาทของอุทยานวิทยาศาสตร์ต่อการสนับสนุนผู้ประกอบการ ซึ่งได้มาแนะนำบริการต่าง ๆ ของ NU SciPark พร้อมทุนสนับสนุนสำหรับภาคเอกชน

  ทั้งนี้ ภายในงานมีผู้ประกอบการให้ความสนใจ เข้ามาปรึกษาปัญหาในธุรกิจ และขอรายละเอียดทุน ที่ NU SciPark Connex เป็นจำนวนมาก

  นอกจากนั้นยังจัดให้มีการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในหัวข้อ “มุมมองและความคาดหวังของภาคเอกชนจังหวัดพิษณุโลกต่อการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมจากภาครัฐ” โดยตัวแทนจากภาคเอกชน ประกอบด้วย

✅ คุณพญา ธาราวุฒิ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก
✅ คุณปกรณ์ ด่านสีทอง ประธานหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก
✅ ภญ.วรรณศิริ นิ่มพิทักษ์พงศ์ อุปนายกสมาคมเครือข่ายไมซ์ภาคเหนือตอนล่าง
✅ คุณกนกนาถ ลิขิตไพรวัลย์ ประธาน YEC จังหวัดพิษณุโลก

  ทั้งนี้ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร มุ่งเป้าขับเคลื่อนให้เกิดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางด้านการวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน ให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ และบริการของอุทยานฯ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอกย้ำวิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” ได้อย่างแท้จริง